Uncategorized

สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ เปิดสมัยประชุมสภา อบจ.สมุทรปราการ สมัยสามัญ สมัยที่ 1 ประจำปี 2568 พร้อม คำแถลงนโยบายของนายก อบจ.สมุทรปราการ

สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ เปิดสมัยประชุมสภา อบจ.สมุทรปราการ สมัยสามัญ สมัยที่ 1 ประจำปี 2568 พร้อม คำแถลงนโยบายของนายก อบจ.สมุทรปราการ

วันที่ 18 มีนาคม 2568 เวลา 10.00 น. ที่ห้องประชุม ชั้น 4 องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ อ.เมืองสมุทรปราการ จัดให้มีการประชุมสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ สมัยสามัญ สมัยที่ 1 ประจำปี 2568 โดยมี นายสมควร ชูไสว ประธานสภา อบจ.สมุทรปราการ เป็นผู้เปิดการประชุมฯ พร้อมกล่าวแสดงความยินดีกับนายก อบจ.สมุทรปราการ โดยมี นายสุนทร ปานแสงทอง นายก อบจ.สมุทรปราการ แถลงนโยบายต่อสภาฯ พร้อมด้วย นายอัครวัฒน์ อัศวเหม รองนายก อบจ.สมุทรปราการ คนที่ 1 นายวรพร อัศวเหม รองนายก อบจ.สมุทรปราการ คนที่ 2 และนายต่อศักดิ์ อัศวเหม รองนายก อบจ.สมุทรปราการ คนที่ 3 ตลอดจนคณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ และสมาชิกสภา อบจ.สมุทรปราการ ทั้ง 36 คน เข้าร่วมประชุม โดย นายสุนทร ปานแสงทอง นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ได้อ่านคำแถลงนโยบายต่อสภาฯ ในการจัดทำนโยบายดังกล่าว ได้ผ่านกระบวนการศึกษา ค้นคว้า รวบรวมความคิดเห็นจากทุกภาคส่วนของประชาชน หน่วยงานราชการ ภาคเอกชน นักวิชาการ ผู้เชี่ยวยาญ โดยคำนึงถึงสภาวะเศรษฐกิจ สังคม และศึกษา ให้เป็นไปตามระเบียบ กฎหมาย แนวปฏิบัติ ของหน่วยราชการที่บังคับใช้ เพื่อให้นโยบายมีความเป็นจริง สนองต่อความต้องการของพี่น้องชาวสมุทรปราการมากที่สุด ทั้งนี้ได้ปรับนโยบายให้สอดคล้องตามกรอบยุทธศาสตร์ชาติ และยุทธศาสตร์การพัฒนา ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวม 5 ด้าน ดังนี้
1. ด้านการพัฒนาเศรษฐกิจในทุกภาคส่วน ทั้งภาคอุตสาหกรรม ภาคเกษตรกรรม และภาคการท่องเที่ยวแบบสมดุล มิติ เศรษฐกิจ พื้นรายได้’ด้วยมิติส่งเสริมการท่องเที่ยว (ส่งเสริม และแก้ไขปัญหาการประกอบอาชีพ ตามกฎกระทรวง (พ.ศ.2541-ข้อ17) ออกตามความในพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด พ.ศ. 2540) ส่งเสริมและพัฒนาการท่องเที่ยวด้วยทุนด้านวัฒนธรรม ประเพณี ด้านภูมิศาสตร์ ธรรมชาติ ระบบนิเวศน์บางกะเจ้า ผลผลิตทางเกษตร ผลิตภัณฑ์ชุมชน และทุนด้าน ประวัติศาสตร์ของจังหวัดสมุทรปราการ ด้วยการเผยแพร่ ข้อมูล ความรู้ ข่าวสาร กิจกรรม แหล่งท่องเที่ยวแต่ละด้าน โดยมีกิจกรรมสำคัญ ดังนี้ 1.1 คลื่อนให้จังหวัดสมุทรปราการ เป็นเมืองแห่งเทศกาลตลอดปี เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจระดับชุมชน ภายใต้กิจกรรม แนวคิดเทศกาลลานริมอ่าว รวมถึงถนนคนเดินและ Street food 1.2 ขับเคลื่อน ส่งเสริม การหารายได้ การค้าขายระบบ E-Commerce ผู้ค้าอิสระมือใหม่ Startup ผู้ประกอบการรายย่อย ทั้งขนาดกลางและขนาดย่อม SME ทั้งระดับชุมชนภาคครัวเรือน โดยสนับสนุนให้ชุมชนขายผลผลิตและผลิตภัณฑ์ ด้วยระบบสื่อสังคมออนไลน์ Live 1.3 ประสาน บูรณาการท้องถิ่น ภาคเอกชน จัดหาพื้นที่เพิ่มโอกาสค้าขายฟื้นรายได้ระดับครัวเรือน 1.4 ส่งเสริม สนับสนุน องค์ความรู้ เทคโนโลยี พัฒนาศักยภาพ เพื่อเพิ่มมูลค่า ทางเศรษฐกิจ จากการแปรรูปผลผลิตทางการเกษตร ทั้งในรูปแบบของรัฐวิสาหกิจชุมชน และระดับครัวเรือน เช่น มะม่วงน้ำดอกไม้ กุ้งเหยียด ปลาสลิต เป็นต้น
2. ด้านระบบสวัสดิการและคุณภาพชีวิตของประชาชน มิติ : การสาธารณสุข 2.1 ส่งเสริมและสนับสนุนโรงพยาบาลประจำจังหวัด เพื่อขยายศักยภาพการรักษาพยาบาล การป้องกันและควบคุมโรคติดต่อ 22 สนับสนุน ยกระดับ ขยายศักยภาพ บริการสาธารณสุข บูรณาการร่วมกับไรงพยาบาลอำเภอ และโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล เพื่อขยายขอบเขตบริการสาธารณสุข 2.3 จัดให้มีศูนย์สุขภาพชุมชน (Health Station) ขยายบริการสารณสุข มีแพทย์ หมุนเวียน เข้าพื้นที่ขุมขน บริการ เฝ้าระวัง ตรวจ รักษา ประชาชนเข้าถึงบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขอย่างใกล้ชิด มีความสะดวก รวดเร็ว มุ่งเจ้าพักลุ่มผู้สูงอายุ และผลุ่มจปราะบางได้รับบริการสาธารณสุข รวดเร็ว ทั่วถึง 2.4 ส่งเสริมและสนับสนุน ให้มีการป้องกัน ควบคุม และบ่าบัดรักษาโรคต่างๆ รวมถึงการจัดหาวัคซีนและอุปกรณ์ทางการแพทย์ ที่จำเป็นและทันต่อโรคอุบัติใหม่ โรคระบาดและโรคที่เกิดจากมดพิษทางอากาศ เช่น PM4 25 เพื่อให้ประชาชนมีสุขภาพที่ดี 2.5 ส่งเสริมและสนับสนุนการพัฒนาศักยภาพ ของบุคลากรทางการแพทย์ อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน(อสม.) ผู้ปฏิบัติงานด้านสาธารณสุขมูลฐาน และระบบสุขภาพปฐมภูมิ 2.6 ส่งเสริมและสนับสนุน บูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในจังหวัดสมุทรปราการ อย่างเป็นระบบ มิติ ด้านการศึกษา สร้างอนาคต ทันเทคโนโลยี กีฬาเป็นเลิศ 2.7 ขับเคลื่อน ให้มีการจัดการศึกษา เพิ่มศักยภาพการเรียนรู้ ทักษะด้านเทคโนโลยี ปัญญาประดิษฐ์ (AI) มุ่งอาชีพทักษะสูง ทั้งระยะยาวและระยะสั้น 2.8 จัดตั้งศูนย์กลาง Academy Park เป็นศูนย์การเรียนรู้ ฝึกทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์(AI) เทคโนโลยีด้านเกษตร การค้าขาย ผ่านสื่อออนไลน์ และความรู้ด้านต่างๆ ที่จำเป็นต่อการประกอบอาชีพและเพิ่มรายได้ โดยแสวงหาความร่วมมือกับสถาบันการศึกษาที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน องค์กรภาคธุรกิจ หอการค้า และปราชญ์ชาวบ้าน เป็นต้นต้น โดยใช้พื้นที่อุทยานการเรียนรู้และหอขมเมืองสมุทรปราการ 29 ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาศักยภาพการจัดการศึกษา เพื่อยกระดับคุณภาพและมาตรฐาน ทั้งในด้านศักยภาพครูผู้สอนและผู้เรียน โดยจัดให้มีสื่อการเรียนการสอนห้องเรียนคอมพิวเตอร์(Smart Classroom) ห้องปฏิบัติการฝึกทักษะด้านปัญญาประดิษฐ์ สร้างโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมให้แก่เด็กและเยาวชน การเรียนรู้ในหลักสูตรนานาชาติ รวมถึงการสนับสนุนและแก้ไขปัญหา การยาดแคลนครูและบุคลากรทางการศึกษา ทุกระดับในพื้นที่ 2.10 ส่งเสริม สนับสนุน การจัดการศึกษา เพื่อต่อยอด พัฒนาอาชีพพื้นพื้นถิ่น เพิ่มมูลค่าสูงทั้งด้านผลผลิตการเกษตร การประมง ผลิตภัณฑ์ตำบล ชุมชน รวมถึงถึงส่งเสริม สนับสนุนขับเคลื่อนขยายพื้นที่ภาคเกษตร เป็นการเกษตรเสียวนภาพ เกษตรมูลค่าสูง ซึ่งจะทำให้รายได้ครัวเรือนเกษตรกรสูงขึ้น 211 ส่งเสริมกีฬาสู่ความเป็นเลิศ(Sports Hero) โดยสนับสนุนให้มีการนำวิทยาศาสตร์การกีฬา เทคโนโลยีฝึกทักษะกีฬาแต่ละประเภท ตามความถนัดของเยาวชนนักเรียน นักศึกษา 2.12 พัฒนาสนามกีฬาที่มีอยู่ให้ได้มาตรฐาน ส่งเสริมและสนับสนุนการแข่งขันกีฬาทุกชนิด ทุกประมภพ ทั้งระดับประยายนที่ไป เยาวชน นักเรียน นักศึกษา เพื่อต่อยอดพัฒนาไปสู่กีฬาเพื่อความเป็นเลิศ(Sports Hero) เพิ่มพื้นที่ สถานที่สำหรับออกกำลังกาย เพื่อให้ประชาชนชาวจังหวัดสมุทรปราการ มีสุขภาพร่างกายที่แข็งแรง ห่างไกลโรคโรคภัยและแก้ไขปัญหายาเสพติดในจังหวัดสมุทรปราการ อย่างเป็นระบบ 2.13 ส่งเสริม สนับสนุน ฟื้นฟู บูรณะอนุรักษ์ วัดและสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เหล่าโบราณสถาน โบราณวัตถุที่สำคัญของจังหวัดสมุทรปราการ 2.14 ส่งเสริม สนับสนุน การสืบสานวัฒนธรรม ประเพณี ศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น ให้แพร่หลาย และเป็นที่รู้จักกันทั่วไป 2.15 เป็นแกนกลางสร้างการมีส่วนร่วมจากทุกหน่วยงาน เพื่อเผยแพร่และส่งเสริมค่านิยมทางวัฒนธรรม ประเพณี ของจังหวัดสมุทรปราการ สู่บุคคลทั่วไปทั้งภายในประและต่างประเทศ เพิ่มรายได้ให้กับประชาชนในจังหวัดสมุทรปราการ
3. ด้านการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน สาธารณูปโภค สาธารณูปการและการผังเมือง มิติ : แก้ปัญหาการจราจร จุดวิกฤต ย่นเวลาเดินทาง 3.1 เร่งแก้ไขปัญหาการจราจร ประสานการทางพิเศษปรับพื้นที่เลียบทางด่วน เปิดเส้นทางลัด ตัดเส้นทางใหม่ ย่นเวลาเดินทาง 3 เส้นทางจุดวิกฤติ คือถนนสุขุมวิท (แบริ่ง – บิ๊กซี – ปู่เจ้าสมิงพราย) ถนนศรีนครินทร์ (แยกศรีเทพา – แยกลาซาล) ถนนเทพารักษ์ (แยกนิคมอุตสาหกรรมบางพลี)รวมทั้งปรับปรุงเส้นทางคมนาคม ที่อยู่ในความรับผิดชอบของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการให้มีมาตรฐาน ประชาชนได้รับความสะดวกปลอดภัยในการสัญจรอีกด้วย 3.2 ปรับปรุงและพัฒนาภูมิทัศน์ ที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ และเส้นทางคมนาคม(แนวรถไฟฟ้าสู่กลางเมือง) โดยบูรณาการแผนพัฒนาท้องถิ่นขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ที่มีพื้นที่คาบเกี่ยว รวมทั้งประสาบความร่วมมีอ เพื่อปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ในเขตทาดกับพิเศษ และพื้นที่สาธารณประโยชน์อื่นๆ
ให้มีความสวยงามปลอดภัย เพื่อเพิ่มพื้นที่ใช้สอย แลงเจริมสร้างภาพลักษณ์ยา งจังหวัดสมุทรปราการ 3.3 ส่งเสริม สนับสนุน และบำรุงรักษาทางน้ำ จัดหาแหล่งน้ำเพื่อการเกษตร การอุปโภค บริโภค ภาคอุตสาหกรรมอย่างเพียงพอและทั่วถึง เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และปัญหาน้ำเค็ม 3.4 ประสานความร่วมมือ เพื่อผลักดันให้มีการขยายประปา สู่พื้นที่ชุมชนที่ยาดแคลน และสนับตนโรงเรียนในจังจัววัตสมุทรปราการ ให้มีน้ำประปาดื่มได้
4. ด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มิติ : ป้องกันภัยธรรมชาติ ฟื้นสิ่งแวดล้อม ป้องกันน้ำทะเลหนุนท่วม จุดวิกฤตซ้ำซาก ป้องกันน้ำเค็มรุกคุ้งบางกระเจ้า หนุนเกษตรเพื่อสุขภาพ ลดกัดเซาะชายฝั่ง เสริมแกร่งแนวชายฝั่ง ด้วยนวัตกรรมที่เหมาะสม 4.1 ขับเคลื่อน สนับสนุนให้มีระบบป้องกันและแก้ปัญหาการกัดเชาะชายฝั่งทะเลโดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดินซีเมนต์ ผสมผสานกับปลูกป่าชายเลน เพื่อฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและระบบนิเวศป่าชายเลนอย่างยั่งยืน 4.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการแก้ไขปัญหา น้ำทะเลหนุนท่วมเชิงพื้นที่ Area Based โดยเร่งด่วน ในจุดที่เกิดปัญหารุนแรงและซ้ำซาก 4.3 ขับเคลื่อนการแก้ปัญหา ‘น้ำเค็มรุกเข้าพื้นที่คุ้งบางกะเจ้า’ โดยส่งเสริมบูรณาการความร่วมมือระหว่างท้องถิ่น ในการบริหารจัดการการปิดเปิดประตูระบายน้ำ อย่างสัมพันธ์กัน และสนับสนุนให้มีการซ่อมสร้างแนวผนังเขื่อน จุดที่สำรวจพบรอยแตกร้าว รั่วซึม ด้านนวัตกรรมดินซีเมนต์ ที่สามารถผสมผสานเป็นเนื้อเดียวกับโครงสร้างดินพื้นพื้นที่ ได้ตลอดแนวโดยรอบ เพื่อให้คุ้งบางกะเจ้าเป็นพื้นที่เกษตรเพื่อสุขภาพ เกษตรมูลค่าสูง 4.4 ส่งเสริมและสนับสนุน การอนุรักษ์ ฟื้นฟู บำรุงรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พืชเศรษฐกิจและสัตว์น้ำพื้นถิ่น ป้องกัน รักษาระบบนิเวศ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียงต่อการสูญเสียพืชพันธุ์หรือสัตว์น้ำพื้นถิ่น โดยแสวงหาวิธีกำจัดที่เหมาะสม เช่น ภัยคุกคามจากปลาหมอคางดำ โดยจะบูรณาการกับภาครัฐ ภาคเอกชน และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนอย่างยั่งยืน มิติ : การกำจัดมลพิษขยะ ฟื้นคลอง 4.5 ส่งเสริมและสนับสนุนการกำจัดมูลค่อยอย่างถูกหลักวิชาการ รณรงค์สร้างความรู้ความเข้าใจ และปลูกจิตสำนึกประชาชนในการสุดและคัดแยกมูลฝอยในประเภทต่างๆ โดยการบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวน้อย 4.6 ส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการบูรณาการ ระหว่างท้องถิ่นที่มีลำคลอง ต่อเนื่องกัน ปรับปรุงและพัฒนาให้คลองสวย น้ำใส กำจัดผักตบชวา คืนธรรมชาติริมคลองให้บ้านเรือน และชุมชนริมคลองน่าอยู่อย่างยั่งยืน
5. ด้านการพัฒนาการเมือง การบริหาร และการมีส่วนร่วมของภาคประชาชนตามหลักธรรมาภิบาล เพื่อขับเคลื่อน นโยบายสู่การปฏิบัติที่เป็นจริง เกิดผลสัมฤทธิ์ในระยะเวลาที่เหมาะสม กระผมจึงมีมิติการบริหารงานเชิงนโยบาย ดังนี้ 5.1 ให้มีคณะทำงาน เป็นกลไกขับเคลื่อนนโยบายสู่การปฏิบัติ เสนอต่อนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัด จนเกิดผลสัมฤทธิ์ 5.2 ส่งเสริมและสนับสนุนการบริหารงานที่มีคุณธรรม จริยธรรม โปร่งใส รวมถึงการป้องกันการทุจริต สร้างความสามัคคีภายในองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ 5.3 จัดให้มีวัสดุอุปกรณ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และอาคารสถานที่ในการปฏิบัติงานให้สามารถรองรับภารกิจหน้าที่ ในการให้บริการประชาชนได้อย่างเพียงพอและนมเหมาะสม 5.4 สนับสนุนให้มีการนำเทคโนโลยีดิจิทัลที่ทันสมัย มาใช้ในการปฏิบัติงานให้มีประสิทธิภาพ แม่นยำ และเพื่อการสื่อสารงาน กิจการขององค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้บริการข่าวสารแก่ประชาชนทุกกลุ่มเป้าหมาย รวมทั้งป้องกันการตัดแต่ง ดัดแปลงทั้งภาพและข้อความเผยแพร่ที่เป็นข่าวสารเท็จ(Fake News) ทำให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารที่ไม่เป็นความจริงอันเป็นผลเสียต่อองค์กรและคณะผู้บริหาร
5.5 ส่งเสริมให้มีการจัดการความรู้(Knowledge Management/KM) พัฒนาความรู้เพิ่มพูนทักษะในด้านวิชาการ เทคโนโลยีสารสนเทศ คุณธรรม จริยธรรม เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติหน้าที่แก่ คณะผู้บริหาร สมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้าราชการ ลูกจ้างและพนักงานจ้างในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ให้มีสมรรถนะในการปฏิบัติงานที่ถูกต้อง เหมาะสม มีความคิดสร้างสรรค์ และมีความพร้อมต่อกระแส
การเปลี่ยนแปลง มิติ : การมีส่วนร่วมของประชาชนและภาคส่วนต่างๆ 5.6 ส่งเสริมหลักธรรมาภิบาล(Good Governance) ในการบริหารงานของ องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ เพื่อประโยชน์สุขของประชาชน 5.7ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนภาคประชาคมเพื่อประโยชน์ในการบริหารงาน การจัดทำแผนพัฒนาท้องถิ่นเสนอแนะ ให้ข้อแนะนำ และประเมินผลการปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ

0 Comments

wiboon Jit.

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

WordPress Image Lightbox Plugin