Uncategorized

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเฝ้าระวังเหตุและการสอบสวนโรคกรณีฆ่าตัวตาย และการอบรมการสอบสวนโรคกรณีฆ่าตัวตาย ระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม 2568

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเฝ้าระวังเหตุและการสอบสวนโรคกรณีฆ่าตัวตาย และการอบรมการสอบสวนโรคกรณีฆ่าตัวตาย ระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม 2568

วันที่ 10 มีนาคม 2568 เวลา 09.00 น. ที่ห้องประชุมโรงแรม เดอะ คัลเลอร์ ลิฟวิ่ง ตำบลเทพารักษ์ อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อเฝ้าระวังเหตุและการสอบสวนโรคกรณีฆ่าตัวตาย และการอบรมการสอบสวนโรคกรณีฆ่าตัวตาย ระหว่างวันที่ 10-11 มีนาคม 2568 โดยมี นายแพทย์วี โรจนศิรประภา รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ เป็นประธานกล่าวเปิดการประชุม และนางกาญจนา วรรณพาหุณ หัวหน้ากลุ่มงานสุขภาพจิตและยาเสพติด สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ กล่าวรายงาน ภายในงาน มีการแบ่งกลุ่ม จำนวน 2 กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลการฆ่าตัวตาย จังหวัดสมุทรปราการ มาตรการแก้ไขปัญหาฆ่าตัวตาย จังหวัดสมุทรปราการ แนวทางการกำหนดมาตรการป้องกันปัญหาฆ่าตัวตาย จังหวัดสมุทรปราการ ประเมินประสิทธิพลมาตรการป้องกันปัญหาฆ่าตัวตาย จังหวัดสมุทรปราการ โดย คณะวิทยากรจากโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์ และตอบข้อสักถาม
โดยสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรปราการ ได้ตระหนักถึงปัญหาการฆ่าตัวตายที่ยังพบส่วนขาดทั้งการเฝ้าระวัง การติดตามดูแล และการสอบสวนโรค จึงได้จัดกิจกรรม 2 กิจกรรม ได้แก่ การประชุมเชิงปฏิบัติการเฝ้าระวังเหตุและการสอบสวนโรคกรณีฆ่าตัวตาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อวางแผนมาตรการป้องกันปัญหาฆ่าตัวตายในพื้นที่ร่วมกับเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง และ การอบรมการสอบสวนโรคกรณีฆ่าตัวตาย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพบุคลากรสาธารณสุขในการเฝ้าระวังเหตุและสอบสวนโรคกรณีฆ่าตัวตาย ซึ่งผู้เข้าร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ประกอบด้วย โรงพยาบาลรามาธิบดีจักรีนฤบดินทร์ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา โรงพยาบาลยุวประสาทไวทโยปถัมภ์ ศูนย์สุขภาพจิตที่ 6 ผู้รับผิดชอบงานสุขภาพจิต ระดับโรงพยาบาลและระดับอำเภอ และภาคีเครือข่ายในการดำเนินงานป้องกันการฆ่าตัวตาย ได้แก่ ตำรวจ หมวดบำรุงทางหลวงชนบทวงแหวนอุตสาหกรรม ตำรวจน้ำ มูลนิธิกู้ชีพ สื่อสานมวลชน และงานรักษาความปลอดภัย สะพานภูมิพล รวมทั้งสิ้นจำนวน 90 คน โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณสมทบจากโรงพยาบาลขอนแก่นราชนครินทร์ และได้รับความอนุเคราะห์จากท่านวิทยากร อาจารย์นายแพทย์ธรณินทร์ กองสุข นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ และคณะวิทยากรจากโรงพยาบาลจิตเวชขอนแก่นราชนครินทร์

0 Comments

wiboon Jit.

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

WordPress Image Lightbox Plugin