Uncategorized

พลิก ‘นโยบาย ฯ สู่การปฏิบัติ ไล่ล่า กำจัด ‘ปลาหมอคางดำ’



พลิก ‘นโยบาย ฯ สู่การปฏิบัติ
ไล่ล่า กำจัด ‘ปลาหมอคางดำ’

ส่องความคิด แนวทาง และความตั้งใจของ รองฯต่อศักดิ์ อัศวเหม ที่พึ่งได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการหมาดๆ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2568 ในการแก้ปัญหาภัยคุกคามจากปลาหมอคางซึ่งยังคงแพร่ระบาดอยู่ขณะนี้

รองฯต่อ ได้ผลักดัน การ แก้ปัญหาปลาหมอคางดำ สู่ระดับนโยบายขององค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ ตามที่ได้แถลงต่อสภา องค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการไปแล้ว

นโยบาย ในยุทธศาสตร์ที่ 4 ข้อ 4.4 ระบุว่า ‘
‘ส่งเสริมและสนับสนุน การอนุรักษ์ ฟื้นฟู บํารุงรักษา ทรัพยากรธรรมชาติและ สิ่งแวดล้อม พืชเศรษฐกิจและสัตว์นํ้าพื้นถิ่น ป้องกัน รักษาระบบนิเวศเพื่อไม่ให้เกิดความเสี่ยงต่อ การสูญเสียพืชพันธุ์หรือสัตว์นํ้าพื้นถิ่น โดยแสวงหาวิธีกําจัดที่เหมาะสม เช่น ภัยคุกคามจากปลา หมอคางดํา โดยจะบูรณาการกับภาครัฐ ภาคเอกชน และการมีสว่นร่วมของภาคประชาชน อย่าง ยั่งยืน’
(นโยบาย แถลงต่อสภาองค์กรบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ วันที่ ..2568 )

ก่อนหน้าได้รับตำแหน่ง รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดสมุทรปราการ รองฯต่อ ได้ขับเคลื่อน ศึกษาหาแนวทาง
รูปแบบ แนวคิด การแก้ปัญหา การแพร่ระบาดของประหมอคางดำร่วมกลุ่มเกษตรกรที่ประสบปัญหามาก่อนแล้ว

ราวกลางเดือนกุมภาพันธ์ 2568 รองฯต่อศักดิ์ อัศวเหม
ได้ร่วมประชุมกับกลุ่มผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตัวแทนเกษตรกรจากทุกตำบลใน อ.พระสมุทรเจดีย์ ประมงอำเภอ เกษตรอำเภอ ได้เข้าร่วมรับฟังปัญหาและวิเคราะห์ถึงแนวทางแก้ปัญหาการแพร่ระบาดของ #ปลาหมอคางดำ ด้วย นับเป็นขบวนการประชาสังคมจากชาวบ้าน มีหน่วยราชการเข้าร่วมอย่างแข็งขัน

‘รองฯต่อศักดิ์ได้เสนอ แนวทางแก้ไขปัญหาจะแบ่งเป็น 2 แนวทางหลักที่จะต้องดำเนินการคู่ขนานกันไป คือ
1.การกำจัดและควบคุม
2.การเพิ่มมูลค่าโดยการแปรรูปและการหาแหล่งรับซื้อ’

‘การประชุมครั้งนี้ พบว่า เกษตรกรมีองค์ความรู้ในการกำจัด ควบคุม ปัญหานี้ได้ดีพอสมควรแล้ว เพียงแต่ขาดการสนับสนุนอย่างจริงจังทั้งทางด้านกฎระเบียบ ข้อควรปฏิบัติ หรือข้อยกเว้น ในส่วนนี้เองจะสามารถทำให้เกิดเป็นรูปธรรมได้ภายใต้การประกาศเขตพื้นที่ภัยพิบัติอย่างแน่นอน อีกส่วนนึงที่เป็นอุปสรรคต่อการแก้ไขปัญหาคือ เงินทุนที่จำเป็นต้องใช้ในการแก้ไขปัญหา เป็นเรื่องที่พี่น้องเกษตรกรไม่สามารถแบกภาระได้’

‘รองฯต่อได้นำเสนอให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่างๆเข้ามารับผิดชอบในเรื่องการอุดหนุนงบประมาณในการแก้ไขปัญหานี้ภายใต้การประกาศเขตพื้นที่ภัยพิบัติ’

นอกจากนี้ ได้หารือถึง การตั้งกลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือ กลุ่มรัฐวิสาหกิจชุมชน เพื่อนำร่องในการแก้ปัญหานี้ การศึกษาหาพื้นที่ทำการทดลองวิธีการกำจัดและควบคุมที่เหมาะสม การรวบรวมองค์ความรู้ในการแปรรูปเพิ่มมูลค่า การหาแหล่งรับซื้อ…
(ep.5 14-16.02.2568)




ประสบการณ์ รองฯต่อ สรุปบทเรียนได้ว่า ‘การทำงานกับกลุ่มตัวแทนเกษตรกรไม่เกิน 10-15 คน ทำงานที่เป็นเอกภาพ และสามารถขับเคลื่อนได้มากกว่า การประชุมเกษตรกรเป็นร้อยๆคนแลแต่ไม่สามารถหาข้อสรุปอะไรได้เลย เป็นการประชุมที่ได้แต่ภาพ’(ep6)

กลุ่มที่เข้าร่วมประชุม มีความหลากหลายองค์ความรู้ ทั้งในด้านการแปรรูป กลุ่มการกำจัดและควบคุม กลุ่มที่คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากกำจัดและควบคุม รวมไปถึงกลุ่มที่มีช่องทางการรับซื้อ และที่สำคัญมากๆคือ กลุ่มของผู้นำชุมชน-ผู้บริหารท้องถิ่น ในการประชุมเรายังได้มีตัวแทนข้าราชการเช่น เกษตรอำเภอ ประมงอำเภอ เจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ก็ได้เข้ามารับฟังและตอบคำถามพวกเราในเรื่องแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้องตามระเบียบราชการอีกด้วย xx㊙️
แนวทางการทำงานนั้นเราจะมุ่งเน้นการแก้ปัญหาร่วมกันระหว่างเกษตรกรในพื้นที่ กับ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหลัก ซึ่งจะเป็นผู้ให้การสนับสนุนตามอำนาจหน้าที่ที่ท้องถิ่น เราศึกษา
ๆระเบียบราชการ ระเบียบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เพื่อเตรียมเสนอโครงการและขอการสนับสนุนด้านงบประมาณในการแก้ปัญหาต่อไป

ตกผลึกความคิด แนวทางกำจัด ปลาหมอคางดำ อย่างยั่งยืน

ผลจากการประชุมตัวแทนกลุ่มต่างๆ ในรอบสองเดือนก่อนมีการเลือกตั้งนายกผฯอบจ.(1 กพ 2568) เราตกผลึกความคิดมีข้อสรุปแนวทาง เป้าหมายชัดเจน ว่า

1.การกำจัดและควบคุม
2.การเพิ่มมูลค่าโดยการแปรรูปและการหาแหล่งรับซื้อ’
3 จัดตั้ง วิสาหกิจชุมชน /
4 “ศูนย์แปรรูปผลผลิตสัตว์น้ำ”รองรับการแปรรูปปลาหมอคางดำ และ สัตว์น้ำอื่นๆอีกด้วย

เราเห็นตรงกันว่า แนวทางแก้ปัญหา 4 ข้อนี้ เป็นนวัตกรรมทางปัญญา จากตัวแทนหลากหลาย จะสามารถแก้ปัญหาได้ยั่งยืน มั่นคงกว่า”การรับเงินเยี่ยวยา“ ไม่ใช่แนวทางแก้ปัญหาที่จะช่วยเกษตรกรอย่างมั่นคงได้! และ ‘วิธีกําจัดที่เหมาะสม’|ตามนโยบายที่แถลงไ้ว

‘ผมขอความร่วมมือจากทุกฝ่ายมา ณ ที่นี้ด้วยนะครับ ปัญหาขณะนี้เข้าขั้นวิกฤต และยังคงขยายตัวต่อไป เกษตรกรอย่างน้อย 19 จังหวัดกำลังเผชิญปัญหาอย่างหนัก ผมหวังว่าสมุทรปราการจะผลักดันเรื่องนี้ให้สำเร็จและเป็นต้นแบบการแก้ไขปัญหาให้กับทุกพื้นที่ต่อไปครับ’ รองฯต่อ กล่าวอย่างมีความหวังและเชื่อมั่น

####จบ### 6 มีนาคม 2568

0 Comments

wiboon Jit.

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

WordPress Image Lightbox Plugin