การดำเนินโครงการ “พฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โรงเรียนคลองสะบัดจาก อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ

การดำเนินโครงการ “พฤติกรรมการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม โรงเรียนคลองสะบัดจาก อำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ โดย นายกุญช์พิสิฎฐ์ ประเสริฐ นายจิรศักดิ์ สมบัติ และ นางสาวจิรวดี พิศาลวัชรินทร์ จากสถาบันวิจัยและบริการวิชาการ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ (วิทยาเขตสุวรรณภูมิ) ร่วมกับ โรงเรียนคลองสะบัดจาก โดยการนำของท่านผู้อำนวยการ นางสาวมณีรัตน์ มหาสวัสดิ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนคลองสะบัดจาก คณะครู และนักเรียนชั้นประถมปีที่ 1- 6 ได้เข้ามามีส่วนร่วม เรียนรู้ จัดกิจกรรมอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม”หนูน้อย คลองสะบัดจาก 3Rs ประหยัดพลังงาน” เพื่อนำไปสู่การปฎิบัติ โดยการนำวัสดุเหลือใช้มาประดิษฐ์ เป็นของใช้เพื่อให้เกิดการดัดแปลงเป็นของใหม่ ไม่เพียงช่วยลดปริมาณขยะ และประหยัดเงินเท่านั้น แต่ยังช่วยลดการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ ลดการผลิตสินค้าใหม่ รวมทั้งส่งเสริมความคิดสร้างสรรค์ เกิดไอเดียใหม่ๆ สร้างมูลค่าให้กับสิ่งของเหลือใช้ที่ไร้ค่า สามารถกลายเป็นของใหม่ ที่มีมูลค่า และสร้างประโยชน์ได้ โดยผ่านกระบวนการ 3Rs ได้แก่ ใช้น้อยหรือลดการใช้ (Reduce) ใช้ซ้ำ (Reuse) จากนั้นนำไปคัดแยกเพื่อนำไปใช้ประโยชน์ต่อได้อย่างสูงสุดโดยการรีไซเคิลหรือแปรรูป ใช้ใหม่ (Recycle)
การนำของเหลือใช้มาดัดแปลงเป็นของใหม่ เป็นอีกหนึ่งวิธีง่ายๆ ที่นักเรียนโรงเรียนคลองสะบัดจาก สามารถทำได้ เพื่อช่วยลดปริมาณขยะ ประหยัดเงิน และรักษาสิ่งแวดล้อม
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ
1. ฝึกให้เกิดความคิดสร้างสรรค์ สร้างผลงานให้มีรูปร่างแปลกใหม่ และพัฒนางานประดิษฐ์เดิมให้สามารถใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น
2. งานประดิษฐ์ที่ใช้วัสดุต่างๆ ที่นำมาประกอบเป็นชิ้นงานสามารถนำวัสดุที่มีในท้องถิ่นมาใช้ให้เกิดประโยชน์ได้
3. รู้จักวางแผนในการทำงานอย่างมีระบบ เป็นขั้นตอนในการปฎิบัติงาน สร้างระเบียบวินัยในการทำงานให้มีนิสัยรักการทำงานในงานประดิษฐ์
4. ให้นักเรียนรู้จักใช้และดูแลรักษาเครื่องมือเครื่องใช้ในงานประดิษฐ์ได้อย่างถูกต้องและเหมาะสมกับประเภทของงานประดิษฐ์
5. ฝึกให้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ สามารถได้อย่างมีสมาธิ มีความสุขในการสร้างสรรค์ชิ้นงานประดิษฐ์ของตนเอง
6. ฝึกให้นักเรียนรู้จักประหยัด สามารถนำสิ่งของที่เหลือใช้มาทำให้เกิดประโยชน์มากที่สุด โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย
7. สามารถเพิ่มรายได้ และสร้างอาชีพได้ในอนาคต
8. เกิดความภูมิใจในชิ้นงานของตนเอง
9. นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในการทำงานประดิษฐ์จากเศษวัสดุต่าง ๆ
10. ฝึกการทำงานด้วยกระบวนการกลุ่มเพื่อส่งเสริมความคิดริเริ่มสร้างสรรค์และจินตนาการ





