ข่าวอาชญากรรม

“เฉือนป่าทับลานมรดกโลก” 2.6 แสนกว่าไร่!!!

%e0%b9%80%e0%b8%89%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%99%e0%b8%9b%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%97%e0%b8%b1%e0%b8%9a%e0%b8%a5%e0%b8%b2%e0%b8%99%e0%b8%a1%e0%b8%a3%e0%b8%94%e0%b8%81%e0%b9%82%e0%b8%a5%e0%b8%81

“…กรมอุทยานฯ ยันไม่แก้ปัญหาที่ดิน “ทับลาน” แบบเหมาเข่ง 2.6 แสนไร่ รอสรุป 1 เดือนเข้าบอร์ดอุทยานแห่งชาติชี้ขาด มั่นใจไม่เฉือนป่าเหมาเข่งให้คนทำผิดครอบครองที่ดินป่าอนุรักษ์ และไม่ใช้เป็นโมเดลกับป่าอุทยานอื่น ๆ : ชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร วอนขอพี่น้องประชาชน ช่วยกันมาโหวตไม่เห็นด้วยกับการที่จะนำพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติทับลานจำนวน 2 แสนกว่าไร่ ออกจากการเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ ถามก่อนหน้านี้เรามีการจับกุมดำเนินคดี กลุ่มนายทุนที่มีการซื้อขายที่ดินเปลี่ยนมือ จำนวน 406 คดีจะทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ ถูกกฎหมายด้วยใช่หรือไม่ …”

อุทยานแห่งชาติทับลาน - สวนอุตสาหกรรม 304 ประเทศไทย

กรณีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธฺุพืช จัดรับฟังความคิดเห็นเพิกถอนพื้นที่อุทยานแห่งชาติทับลาน พื้นที่ 265,266 ตามคณะรัฐมนตรี (ครม.) 14 มี.ค.2566 ที่เห็นชอบข้อเสนอของสำนักงานคณะกรรมการนโยบายที่ดินแห่งชาติ (สคทช.) ใช้แผนที่ ONE MAP ปรับปรุงการสำรวจแนวเขตปี 2543 พื้นที่ป่าทับลาน

กระทั่งกลุ่มนักอนุรักษ์ รวมถึงผู้ใช้โซเชียลออกมาคัดค้านการเพิกถอนพื้นที่ดังกล่าว ทำให้ #Saveทับลาน ขึ้นเทรนด์อันดับ 1 ของแอปพลิเคชัน X ในวันนี้ (8 ก.ค.2567) หลายคนสะท้อนข้อกังวลว่าผืนป่าอุดมสมบูรณ์และเป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ป่า จะตกไปอยู่ในมือของนายทุน

นายอรรถพล เจริญชันษา อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธฺุพืช ให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าวว่า ช่วงวันที่ 4-5 ก.ค.ที่ผ่านมา มีการการจัดเวทีรับฟังความเห็นในพื้นที่ปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน 265,266 ไร่ ใน จ.นครราชสีมา และปราจีนบุรี โดยยังเปิดรับฟังความเห็นผ่านทางระบบออนไลน์ ที่จะสิ้นสุดในวันที่ 12 ก.ค.นี้

การดำเนินการรับฟังความเห็นเป็นไปตามกระบวนการกฎหมาย ตามมติ ครม. หากแล้วเสร็จทั้ง 2 ช่องทาง ทางกรมอุทยานฯ จึงจะสรุปเสนอต่อคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ คาดว่าจะนำเสนอให้พิจารณาได้เร็วสุดภายในเดือน ส.ค.นี้

หากประมวลข้อคิดเห็นแล้วเสร็จ คาดว่าอย่างช้าภายใน 1-2 เดือน จะสรุปให้คณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ มีมติชี้ขาดเพิกถอนป่าทับลานหรือไม่ แต่ยังมั่นใจว่าจะไม่จะเพิกถอนป่าถึง 2.6 แสนไร่แน่นอนFile:อุทยานแห่งชาติทับลาน3.jpg - Wikimedia Commons

นายอรรถพล กล่าวว่า ที่ผ่านมามีกระแสวิจารณ์ต่อกรมอุทยานฯ ว่าไม่มีท่าทีคัดค้านการเพิกถอนป่าทับลาน 265,266 ไร่ ยืนยันว่า กระบวนการต่าง ๆ ยังไม่สิ้นสุด และการรับฟังความเห็นครั้งนี้จะนำมาประกอบเหตุผลให้บอร์ดอุทยานพิจารณา แต่จะไม่ใช้การแก้ปัญหาที่ดินในพื้นที่ทับลานแบบเหมาเข่งอย่างที่นักอนุรักษ์กังวลเด็ดขาด เพราะก่อนหน้านี้กรมอุทยานฯ แยกและกำหนดรูปแบบของที่ดินทำกินในป่าทับลานไว้ 3 กลุ่มชัดเจน โดยเฉพาะกลุ่มรีสอร์ตกว่า 400 แห่งที่ติดในคดีจะต้องไม่ได้ครอบครองที่ดินป่าอนุรักษ์

คดีรีสอร์ต 400 กว่าแห่งในป่าทับลาน ยังยึดกฎหมายเดิมคือเป็นผู้บุกรุก ต้องดูคุณสมบัติเป็นหลัก คนละส่วนกับการเพิกถอนพื้นที่ ส่วนข้อกังวลว่าหากมีการเพิกถอนป่าทับลานได้แล้ว จะถูกใช้เป็นโมเดลกับป่าอนุรักษ์อื่น ๆ อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ ระบุว่า แต่ละพื้นที่มีปัญหาแตกต่างกัน ไม่สามารถใช้โมเดลเดียวกันได้แน่นอน ส่วนที่เลือกทับลานเป็นแห่งแรก เพราะได้ผ่านการตรวจสอบตามมติ ครม.ปี 2543 ให้สำรวจไว้แล้ว

ขณะที่มูลนิธิสืบนาคะเสถียร เตรียมยื่นหนังสือถึงคณะกรรมาธิการการที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในช่วงสัปดาห์หน้า เพื่อขอให้มีการพิจารณากระบวนการเพิกถอนพื้นที่ดังกล่าว รวมถึงเรียกผู้ที่เกี่ยวข้องและผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียเข้ามาให้ข้อมูล โดยยืนยันว่า ไม่ควรเพิกถอนแบบเหมาเข่ง

ด้าน นายชัยวัฒน์ ลิ้มลิขิตอักษร ผู้อำนวยการสำนักอุทยานแห่งชาติ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ให้ความเห็นว่า อุทยานแห่งชาติทับลานเป็นพื้นที่ที่อยู่ในมรดกโลก คำถามแรกคือได้มีการหารือ กับ UNESCO แล้วหรือยัง ว่าเห็นด้วยหรือไม่ ในการที่จะเฉือนที่ดิน 265,286.58 ไร่ ออกไปจากพื้นที่มรดกโลก

คำถามที่ 2 คือ ก่อนหน้านี้เรามีการจับกุมดำเนินคดี กลุ่มนายทุนที่มีการซื้อขายที่ดินเปลี่ยนมือ จำนวน 406 คดีจะทำให้กลุ่มคนเหล่านี้ ถูกกฎหมายด้วยใช่หรือไม่ คำถามที่3 คือเราได้มีการสำรวจพื้นที่ตามมาตรา 64 พ.ร.บ. อุทยานแห่งชาติ พ.ศ.2562 (ฉบับใหม่) มีเหตุผลอะไรที่จะต้องเฉือนที่ดินออกจากพื้นที่ป่าอนุรักษ์

ส่วนกรณีที่อ้างว่าเป็นการ แบ่งแยกพื้นที่ 2 แสนกว่าไร่ออกมาจากป่าอนุรักษ์ จะช่วยให้เศรษฐกิจของไทยดีขึ้น อย่างแรกต้องหันไปมองว่ารายได้หลักสำคัญของประเทศไทยคือการท่องเที่ยวแต่จู่ๆจะมาเอาธรรมชาติออกไป คำถามคือจะเป็นการพัฒนาประเทศไปได้อย่างไร ป่าเท่านั้นที่จะรักษาความอุดมสมบูรณ์ และรักษาประเทศให้มีอนาคตและมีรายได้ที่สูงขึ้นเพราะคนที่มาเที่ยวเขาชอบโบราสถาน เขาชอบป่า ชอบธรรมชาติ ปัญหาของการลดป่าลงให้เหลือไม่ถึง 20 เปอร์เซนต์ นอกจากจะไม่ทำให้ประเทศชาติยั่งยืน หรือเศรษฐกิจดีขึ้นแล้วยังมีปัญหาเรื่องโลกร้อน น้ำป่าไหลหลาก นอกจากนี้การเอาป่าออกไป ยังต้องมีการชดเชยให้กับเกษตรกร ที่ได้รับความเดือดร้อน ผลเสียตามมากมาย

ทั้งนี้ได้มีการพูดคุยกับกลุ่ม สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ สมาคมศิษย์เก่า คณะวนศาสตร์ มูลนิธิสืบนาคะเสถียรและกลุ่มเครือข่ายภาคีที่เป็นกลุ่มอนุรักษ์ทั้งหลาย ว่าเราต้องสู้ให้ได้ เราต้องสร้างความตระหนักและความสำนึกให้กับคนไทย ไม่ว่าจะเป็นฝั่งข้าราชการ นักการเมือง และที่สำคัญคือพี่น้องประชาชน แต่ถ้าท้ายที่สุดแล้วเราสู้ไม่ได้เราก็ต้องพึ่งศาลยุติธรรม ในการให้ศาลรับไต่สวนคดีของเรา


โดยนายชัยวัฒน์ เปิดใจกับผู้สื่อข่าว ว่า “เรื่อง การปรับปรุงแนวเขต อุทยานแห่งชาติทับลาน ปี 43 ส่วนตัว มีความเห็น “ไม่เห็นด้วย“ เนื่องจาก กรมอุทยานแห่งชาติ ฯ ได้สำรวจถือครอง ที่อยู่ที่ทำกิน ให้กับราษฎร ที่อยู่ดั้งเดิมให้อยู่อาศัยทำกินได้ และทำแล้วทั่วประเทศเนื้อที่ ประมาณ 4.27 ล้านไร่

ส่วนของอุทยานแห่งชาติทับลาน ครม. เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 มีความเห็นให้ ดำเนินการ กันพื้นที่ ออก 2.6 แสนกว่าไร่

กรณีนี้ ! ส่วนตัวไม่เห็นด้วย เพราะ ราษฎรเดิม ก็ได้ที่อยู่ที่อาศัยทำกิน ตามปกติธุระ อยู่แล้วและ กรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ก็มีระเบียบ ข้อบังคับ ข้อกฏหมาย ”ห้ามซื้อขายที่ดิน ห้ามเปลี่ยนมือ“ โดยเด็ดขาด

ฉะนั้น ! แสดงว่า ตาม พรบ. อุทยานแห่งชาติฯ และ พรบ. สงวน/คุ้มครองสัตว์ป่า ปี 2562 มีการจัดการอย่างดี ราษฎรที่ได้ครอบครองทำกินมาตั้งแต่แรก จนถึงปัจจุบัน ได้มีที่ทำกิน/อาศัย ได้ตามปกติธุระ

แต่ถ้า ! ถูกกันพื้นที่ออก ไป
และมอบให้หน่วยงานอื่น
เป็นผู้ดำเนินการ นั่น !?
การเปลี่ยนมือ เกิดขึ้นแน่นอน !

ตนจึง #ไม่เห็นด้วยกับแนวเขตทับลานปี 43

นายชัยวัฒน์กล่าวอีกว่า สำหรับวิธีรับฟังความคิดเห็นและการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย ชุมชนที่เกี่ยวข้อง และประชาชน สามารถลงความเห็นได้ที่เว็บไซต์ของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช

โดยขั้นตอนมีดังนี้

1. กรอกบัญชี E-mail และเลือกความคิดเห็นของเรา
2. กรอก ชื่อ-นามสกุล
3. กรอกอายุ
4. กรอกเลขบัตรประจำตัวประชาชน
5. กรอกข้อมูลว่า เรามีส่วนเกี่ยวข้องในฐานะใด
6. เลือกติ๊กในช่องว่า ท่านเห็นด้วยหรือไม่ กับการปรับปรุงแนวเขตอุทยานแห่งชาติทับลาน จากการสำรวจแนวเขตเมื่อปี พ.ศ. 2543 ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 มีนาคม 2566 เพื่อกำหนดพื้นที่เป็นอุทยานแห่งชาติทับลาน จังหวัดปราจีนบุรี จังหวัดนครราชสีมา และจังหวัดสระแก้ว
7. กรอกระบุเหตุผล
8. กรอก ข้อห่วงใย/ความเห็น/ข้อเสนอแนะ

“อยากจะวอนขอพี่น้องประชาชน ช่วยกันมาโหวตไม่เห็นด้วยกับการที่จะนำพื้นที่ป่าอุทยานแห่งชาติทับลานจำนวน 2 แสนกว่า ออกจากการเป็นพื้นที่ป่าอนุรักษ์ โดยเข้าไปที่ลิงค์ของกรมอุทยานสัตว์ป่าและพันธุ์พืช จากนั้นให้มีการลงรายชื่อ อายุ และลงความเห็นว่า คัดค้านหรือไม่คัดค้านกับกรณีนี้เพื่อที่จะช่วยเป็นปากเป็นเสียงในการอนุรักษ์อุทยานแห่งชาติของประเทศไทย”

0 Comments

admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

WordPress Image Lightbox Plugin