สังคมคนปากน้ำ

กรมศุลกากร แถลงข่าวนโยบายดำเนินการงานด้านประชาสัมพันธ์เชิงรุกเพื่อสร้างความรับรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน

%e0%b8%81%e0%b8%a3%e0%b8%a1%e0%b8%a8%e0%b8%b8%e0%b8%a5%e0%b8%81%e0%b8%b2%e0%b8%81%e0%b8%a3-%e0%b9%81%e0%b8%96%e0%b8%a5%e0%b8%87%e0%b8%82%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%a7%e0%b8%99%e0%b9%82%e0%b8%a2%e0%b8%9a

วันที่ 10 กันยายน 2562 เวลา 10.30 น. ณ ศูนย์แถลงข่าวกรมศุลกากร ชั้น 2 อาคาร 1กรมศุลกากร นายชัยยุทธ คำคุณ ที่ปรึกษาด้านพัฒนาระบบควบคุมทางศุลกากร ในฐานะโฆษกกรมศุลกากร กล่าวว่า อธิบดีกรมศุลกากร มีนโยบายดำเนินการงานด้านประชาสัมพันธ์เชิงรุก เพื่อสร้างความรับรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้องในประเด็นต่างๆ ตลอดจนนโยบายและโครงการต่างๆ

โดยมอบหมายให้คณะโฆษกกรมศุลกากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินการ และได้กำหนดให้มีการแถลงข่าวประจำทุกเดือน สำหรับประเด็นที่น่าสนใจซึ่งได้นำเสนอในครั้งนี้ ได้แก่ (1) การจัดเก็บรายได้ประจำเดือนสิงหาคม 2562 (2) ผลการจับกุมประจำเดือนสิงหาคม 2562 และ (3) การจัดทำความตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangement: MRA) ภายใต้โครงการ AEO ของกรมศุลกากร โดยมีรายละเอียดในเรื่องต่างๆ ดังนี้ (1) การจัดเก็บรายได้กรมศุลกากร ประจำเดือนสิงหาคม 2562 ในเดือนสิงหาคม 2562 กรมศุลกากรจัดเก็บรายได้ศุลกากรจำนวน 8,708 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณจำนวน 592 ล้านบาทหรือร้อยละ 6.4 ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ พ.ศ. 2562 (1 ตุลาคม 2561 – 3 กันยายน 2562) จัดเก็บรายได้ศุลกากร จำนวน 100,312 ล้านบาท สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 7,731 ล้านบาทหรือร้อยละ 8.4 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน จำนวน 342 ล้านบาทหรือร้อยละ 0.3 ทั้งนี้ ภาพรวมการจัดเก็บรายได้ศุลกากรและรายได้ที่จัดเก็บแทนหน่วยงานอื่น จำนวน 546,423 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 10,383 ล้านบาทหรือร้อยละ 1.9 สินค้าหลักที่จัดเก็บอากรขาเข้าสูงสุด 10 อันดับ ในช่วง 11 เดือน (ตุลาคม 2561 – สิงหาคม 2562) ได้แก่ รถยนต์ที่นั่งส่วนบุคคล ส่วนประกอบยานยนต์ ยารักษาโรค เครื่องสำอาง รถตู้โดยสาร ส่วนประกอบเครื่องยนต์ ของทำด้วยเหล็ก กระเป๋า หอมและกระเทียม แป้น/แผงคอนโซล รายละเอียดดังตาราง

-2-
อย่างไรก็ตาม สำหรับปีงบประมาณ 2562 กรมศุลกากรคาดว่าจะสามารถจัดเก็บรายได้ศุลกากรสูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ และจัดเก็บได้ใกล้เคียงกับคาดการณ์ของกระทรวงการคลังและปีก่อน แม้ว่าจะได้รับผลกระทบจากมูลค่าการนำเข้าที่หดตัวลงตามการชะลอตัวของเศรษฐกิจ (2) ผลการจับกุม ประจำเดือนสิงหาคม 2562 ตามที่ นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ อธิบดีกรมศุลกากร มีนโยบายสำคัญในการเร่งรัดปราบปรามการลักลอบและหลีกเลี่ยงนำสินค้าเข้ามาในราชอาณาจักรโดยมิผ่านพิธีการศุลกากรโดยถูกต้อง เพื่อความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี ปกป้องสังคมและสิ่งแวดล้อม จึงสั่งการให้หน่วยงานในสังกัดพร้อมหน่วยปฏิบัติการวางแผนตรวจค้นจับกุมอย่างเข้มงวดเป็นพิเศษ เพื่อสกัดกั้นป้องกันและปราบปรามการกระทำความผิดตาม พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2560 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็น สินค้าเกษตร น้ำมัน ยาเสพติด IPRs และสินค้าละเมิดอนุสัญญา Cites โดยสืบสวนหาข่าวและออกลาดตระเวนด้วยรถยนต์ ตรวจค้นรถบรรทุก โกดัง บ้านเรือน แหล่งจำหน่าย สถานที่เก็บรักษาที่เชื่อได้ว่ามีของผิดกฎหมายเก็บซุกซ่อนอยู่ อีกทั้งยังมีแผนการป้องกันและปราบปรามสินค้าดังกล่าวในช่วงเวลาซึ่งมีความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นในการลักลอบ นอกจากนี้ มีการบูรณการกับหน่วยงานบังคับใช้กฎหมายอื่นทั้งในและต่างประเทศอย่างต่อเนื่อง อาทิ ทหาร กอ.รมน. ปปส. บช.ปส. กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สถานทูตต่างๆ Interpol DEA เป็นต้น เพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูลการข่าวระหว่างกัน

โดยในเดือนสิงหาคม 2562 กรมศุลกากรพบการกระทำความผิด 2,869 คดี ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 252,728,213 บาท เป็นจำนวนคดีจากการลักลอบร้อยละ 18.4 เป็นจำนวนคดีจากการหลีกเลี่ยงร้อยละ 81.6 โดยมีมูลค่าจากการกระทำความผิดเป็นกรณีลักลอบถึงร้อยละ 55.3 สำหรับสินค้าที่มีมูลค่าการลักลอบนำเข้าสูงสุดในเดือนสิงหาคม ปีงบประมาณ 2562 สามอันดับแรก ได้แก่ ยาเสพติดประเภท เคตามีน ยาเสพติดประเภท โคคาอีน และยาเสพติดประเภท เมทแอมเฟตามีน และสินค้าที่มีมูลค่าการลักลอบส่งออกสูงสุดในเดือนสิงหาคมปีงบประมาณ 2562 สามอันดับแรก ได้แก่ยาเสพติดประเภท เมทแอมเฟตามีน กระบือมีชีวิต และบุหรี่ ในด้านของการจับกุมผู้กระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ. 2560 และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง ในเดือนสิงหาคม 2562 นั้น มีการตรวจพบการกระทำผิดที่น่าสนใจ อาทิ ผู้ลักลอบนำยาเสพติดเข้ามาในราชอาณาจักร โดยซุกซ่อนและกลืนไว้ในร่างกาย การตรวจยึดนกเหยี่ยวขาว ซึ่งจัดเป็นวงศ์นกในบัญชี 2 ของอนุสัญญาไซเตส (CITES) และนกกินปลีสีแดง นกเขียวคราม นกเขียวก้านตองใหญ่ และนกโนรี ซึ่งทั้งหมดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองตาม พ.ร.บ. สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 และการตรวจยึดอะไหล่รถยนต์ผิดกฎหมายโดยใช้เครื่องหมายการค้าปลอมได้เป็นจำนวนมาก อาทิเช่น เบรกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ยีห้อ Brembo และ Nissin กรมศุลกากรเห็นว่าอะไหล่รถยนต์ผิดกฎหมายดังกล่าวนั้น ส่งผลกระทบโดยตรงต่อความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของผู้บริโภค ตลอดจนความปลอดภัยของผู้ใช้รถใช้ถนน เนื่องจากอะไหล่รถยนต์ผิดกฎหมายดังกล่าวนั้น ไม่ได้ผลิตขึ้นบนพื้นฐานทางวิศวกรรมแต่เน้นการใช้วัสดุราคาต่ำเพื่อลดต้นทุนการผลิต ส่งผลให้การใช้งานมีความผิดปกติ เนื่องจากเบรกปลอมนั้นไม่สามารถทนความร้อนสูง และแรงเสียดสีได้ ทำให้ประสิทธิภาพในการเบรกต่ำมาก มีความเสี่ยงสูงต่อการเกิดอุบัติเหตุ ทั้งนี้ ผู้บริโภคสามารถแยกแยะอะไหล่รถยนต์จริงกับปลอมเบื้องต้นได้ โดยการขอเอกสารการรับประกันจากบริษัท/ห้างร้าน ที่จำหน่ายอะไหล่ดังกล่าว นอกจากนั้นอาจสังเกตได้ว่า อะไหล่รถยนต์ปลอมส่วนมากจะมีราคาที่ถูกผิดปกติ

-3-
ด้านผลการตรวจยึดสินค้ากรณีความผิดลักลอบและหลีกเลี่ยง ปีงบประมาณ 2562 (ตุลาคม 2561 – สิงหาคม 2562) กรมศุลกากรสามารถจับกุมการกระทำผิดตามกฎหมายศุลกากรหรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการศุลกากรได้ทั้งสิ้น 29,875 คดี ซึ่งคิดเป็นมูลค่ารวมทั้งสิ้น 2,628,435,357 บาท (2,628 ล้านบาท) เป็นมูลค่าจากการกระทำผิดกรณีลักลอบ ร้อยละ 65.2 ซึ่งสินค้าที่มีมูลค่าการลักลอบนำเข้าสูงสุดในช่วงเดือนตุลาคม 2561 – สิงหาคม 2562 อาทิ ยาเสพติดประเภท เมทแอมเฟตามีน นาฬิกาชนิดต่าง ๆ ยาเสพติดประเภท โคคาอีน สินค้าที่มีมูลค่าการลักลอบส่งออกสูงสุดในช่วงเดือนตุลาคม 2561 – สิงหาคม 2562 สามอันดับแรก ได้แก่ ยาเสพติดประเภทเมทแอมเฟตามีน ยาเสพติดประเภทเคตามีน และรถยนต์และยานยนต์อื่น ๆ ที่ออกแบบสำหรับขนส่งบุคคลเป็นหลัก (3) การจัดทำความตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangement: MRA) ภายใต้ โครงการ AEO ของกรมศุลกากร จากเหตุการณ์ก่อการร้ายเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2544 (เหตุการณ์ 9/11) ทำให้องค์การศุลกากรโลก (World Customs Organization: WCO) ตระหนักถึงการรักษาความปลอดภัยในห่วงโซ่อุปทานการค้าระหว่างประเทศ โดยให้ความสำคัญในกระบวนการรักษาความปลอดภัยตั้งแต่ต้นทางของการขนส่ง จึงได้ส่งเสริมให้ศุลกากรประเทศสมาชิกจัดทำโครงการ Authorized Economic Operator (AEO) ซึ่งเป็นโครงการสำคัญที่ส่งเสริมความร่วมมือระหว่างศุลกากรกับภาคเอกชนในการรักษาความปลอดภัยในห่วงโซ่อุปทานการค้าระหว่างประเทศ ผ่านกระบวนการตรวจสอบมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยฯ โดยศุลกากร เมื่อผู้ประกอบการได้รับอนุญาตให้เป็นผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ (AEO) จะได้รับสิทธิพิเศษตามที่ศุลกากรของแต่ละประเทศได้กำหนด กรมศุลกากรได้ดำเนินโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ (Authorized Economic Operator: AEO) ตามกรอบมาตรฐาน WCO Safe Framework เพื่อส่งเสริมความร่วมมือระหว่างศุลกากรกับภาคเอกชนในการรักษาความปลอดภัยในห่วงโซ่อุปทานการค้าระหว่างประเทศ โดยปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ (AEO) รวมทั้งสิ้น 370 ราย (ผู้นำของเข้า – ผู้ส่งของออก จำนวน 189 ราย และตัวแทนออกของ จำนวน 181 ราย) (ข้อมูล ณ วันที่ 2 กันยายน 2562)
เพื่อให้เกิดการยอมรับและพัฒนามาตรฐานการดำเนินโครงการ AEO กรมศุลกากรได้พัฒนาโครงการไปสู่การจัดทำความตกลงยอมรับร่วมกัน (Mutual Recognition Arrangement: MRA) ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างศุลกากรไทยกับศุลกากรต่างประเทศในการเสริมสร้างการรักษาความปลอดภัยในห่วงโซ่อุปทาน และอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างประเทศ รวมถึงยอมรับมาตรฐานการดำเนินการโครงการเออีโอและแลกเปลี่ยนสิทธิพิเศษของผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอระหว่างกัน

โดยกรมศุลกากรได้ออกประกาศกรมศุลกากร ที่ 165/2562 ลว. 16 สิงหาคม 2562เรื่อง การปฏิบัติพิธีการศุลกากรนำของเข้า ส่งของออกสำหรับโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2562 เป็นต้นไป และประกาศกรมศุลกากร ที่ 166/2562 ลว. 19 สิงหาคม 2562 เรื่อง หน่วยงานศุลกากรคู่ความตกลงยอมรับร่วมกัน สำหรับโครงการผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอ

-4-
ขณะนี้ กรมศุลกากรได้ลงนามในความตกลงยอมรับร่วมกันกับศุลกากรฮ่องกง เกาหลีใต้ และสิงคโปร์ และอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อจัดทำความตกลงยอมรับร่วมกันกับศุลกากรต่างประเทศ ได้แก่ มาเลเซีย ออสเตรเลีย และญี่ปุ่น ซึ่งประโยชน์ที่ผู้ประกอบการระดับมาตรฐานเออีโอจะได้รับจากความตกลงยอมรับร่วมกัน คือ การอำนวยความสะดวกทางด้านพิธีการศุลกากรจากศุลกากรประเทศที่ทำความตกลงยอมรับร่วมกันกับกรมศุลกากร เมื่อมีการส่งสินค้าออกไปยังประเทศดังกล่าว

0 Comments

Varee Son.

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

WordPress Image Lightbox Plugin