ข่าวประชาสัมพันธ์

วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ รับการประเมินคุณภาพการศึกษา เพื่อรับรางวัลพระราชทาน ประจำปีการศึกษา 2564

%e0%b8%a7%e0%b8%b4%e0%b8%97%e0%b8%a2%e0%b8%b2%e0%b8%a5%e0%b8%b1%e0%b8%a2%e0%b8%aa%e0%b8%b2%e0%b8%a3%e0%b8%9e%e0%b8%b1%e0%b8%94%e0%b8%8a%e0%b9%88%e0%b8%b2%e0%b8%87%e0%b8%aa%e0%b8%a1%e0%b8%b8%e0%b8%97-7

 

เมื่อวันที่ 21 มีนาคม 2565 เวลา 9.00 น. ที่ห้องประชุม ชั้น 5 อาคาร 4 วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ อำเภอเมืองฯ จังหวัดสมุทรปราการ นายสถาพร โฉมศิริ รองผู้อำนวยการ รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการวิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ พร้อมด้วยจ่าสิบเอก ดร.สมพร ชูทอง ประธานกรรมการอาชีวศึกษาจังหวัดสมุทรปราการ ตลอดจนรองผู้อำนวยการวิทยาลัย, คณะครูและบุคลากรทางการศึกษา วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ ร่วมให้การต้อนรับคณะอนุกรรมการประเมินสถานศึกษา ระดับภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร เพื่อรับรางวัลพระราชทาน ประเภทสถานศึกษาวิชาชีพ ประจำปีการศึกษา 2564 โดยมีนางอโนทยา เรืองศรี ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร เป็นประธานอนุกรรมการประเมินฯ พร้อมด้วยนายวิสูตร สุจิระกุล ผู้ทรงคุณวุฒิ, นางบัญชาลักษณ์ ลือสวัสดิ์ ผู้อำนวยการวิทยาลัยพาณิชยการธนบุรี, นายมานพ กลิ่นทรัพย์ , นางสุมนา กันแย้ม ศูนย์ส่งเสริมและพัฒนาอาชีวศึกษา ภาคตะวันออกและกรุงเทพมหานคร และนางกุลิสรา สุวรรณ รองผู้อำนวยการวิทยาลัยเทคนิคดอนเมือง ร่วมเป็นคณะอนุกรรมการประเมินฯในครั้งนี้
โดยผู้บริหารและคณะครู วิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ ได้นำเสนอผลการปฏิบัติงานในหัวข้อหลัก 5 ด้าน คือ 1. ด้านคุณภาพผู้เรียน //2. ด้านการบริหารหลักสูตรและงานวิชาการ //3. ด้านการบริหารและการจัดการสถานศึกษา //4. ด้านการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ และ 5. ด้านความดีเด่นของสถานศึกษา เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการประเมินสถานศึกษาเพื่อรับรางวัลพระราชทาน ปีการศึกษา 2564 ของวิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ
สำหรับประเด็นเด่นๆ ของวิทยาลัยสารพัดช่างสมุทรปราการ ที่ถือว่าเป็นวิทยาลัยที่มุ่งเน้นพัฒนาผู้เรียนให้มีงานทำ โดยเรื่องที่นำเสนอต่อคณะอนุกรรมการในครั้งนี้ ได้แก่ ด้านการเรียนการสอนหลักสูตรระยะสั้น ที่มีมาตรฐาน, หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) และหลักสูตร ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) ในระบบทวิภาคีแบบยั่งยืน ที่รับประกันได้ว่าผู้เรียนจะมีงานทำทุกคน และหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)ระบบเทียบโอนความรู้และประสบการณ์ ที่ได้มาตรฐานการอาชีวศึกษา

0 Comments

Admin

Reply your comment

Your email address will not be published. Required fields are marked*

WordPress Image Lightbox Plugin